วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เว็บบล็อกของเพื่อนๆ

กระเทียมน่ารู้
โหระพาน่ารู้
มหัศจรรย์สมุนไพรรักษาโรคกับฟ้าทะลายโจร
มะระขี้นกช่วยลดระดับน้ำตาล
การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

โปรดรับชมวิดีทัศน์ด้านล่าง





สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ

                                 สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ
       สุขภาพ หมายถึง สุขภาพ ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลกแห่ง (WHO) หมายถึง สภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต การดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข จะเห็นได้ว่า สุขภาพ นั้นไม่ได้หมายถึงความปราศจากโรคหรือความบกพร่องเพียงอย่างเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสุขภาพจิตที่ดี เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขอีกด้วย 
    ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2545 คำว่า สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย กล่าวคือ การมีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ มีความคล่องแคล่ว และมีกำลัง พร้อมทั้งการมีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ     
     จิต หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา ความสำนึก ความมีสติ แต่ความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจที่สามารถรู้เห็นได้ กำกับและควบคุมอย่างชัดเจน บางครั้งจึงใช้คำว่า "ความคิด" แทน     
     สุขภาพจิต คือ สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจของบุคคล ซึ่งโดยธรรมชาติภาวะทางจิตใจมีการปรับเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของผู้นั้น ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งมีการพัฒนาการไปอย่างไม่หยุดยั้ง สุขภาพจิตของคนเราจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแปลงตาม นับเป็นความยากลำบากพอควรของมนุษย์ที่จะต้องปรับตัวปรับใจไปกับการเปลี่ยนแปลง ที่เปลี่ยนแปลงไป
     ผู้สูงอายุจะมีการปรับและพัฒนาองค์ประกอบจิตใจระดับต่างๆกันไป โดยทั่วไปจะมีการปรับระดับจิตใจในทางที่ดีงามมากขึ้น สามารถควบคุมจิตใจได้ดีกว่าจึงพบว่าเมื่อคนมีอายุมากขึ้นจะมีความสุขุมมากขึ้นด้วย ผู้สูงอายุมีลักษณะของโครงสร้างทางจิตใจเฉพาะเป็นของตนเอง ซึ่งจะเป็นรากฐานของการแสดงออกของคน แต่ลักษณะการแสดงออกขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆร่วมด้วยได้แก่ บุคลิกภาพเดิมการศึกษา ประสบการณ์สภาพสังคมในวัยเด็กอย่างไรก็ดีมักพบบ่อยๆว่า ผู้สูงอายุจะมีปัญหาทางด้านสังคมและจิตใจซึ่งเป็นการปรับตัวเชิงลบ และการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน แบ่งได้3 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ทางด้านสังคมและทางด้านจิตใจในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและจิตใจที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต ดังนี้         
1.ทางด้านสังคม 
   1.1การสูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคมที่เคยมีบทบาทตำแหน่ง และมีคนเคารพนับถือในสังคมเปลี่ยนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมการมีบทบาทลดลงทำ ให้สูญเสียความมั่นคงในชีวิตรู้สึกว่าตนเองหมดความสำคัญ ในสังคมอยู่ในสภาวะที่ไร้คุณค่าสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง ทำ ให้ผู้สูงอายุมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อตนเอง (
Poor Self-Image) และรู้สึกว่าตนเองกำลังเริ่มเป็นภาระของครอบครัว   
   1.2การสูญเสียการสมาคมกับเพื่อนฝูง เมื่อเกษียณอายุ หรือเมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพจนทำ ให้การเคลื่อนไหวไม่สะดวก
   1.3การสูญเสียสภาวะทางการเงินที่ดีเนื่องจากรายได้ลดลงขณะที่ค่าครองชีพกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำ ให้ผู้สูงอายุบางรายมีปัญหาในการดำรงชีวิต 
2. ทางด้านอารมณ์และจิตใจ      
   2.1 ด้านบุคลิกภาพ โดยปกติผู้สูงอายุจะมีบุคลิกภาพไม่ต่างจากเดิมบางรายถ้ามีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตมโนทัศน์การยอมรับของสังคม สถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆตัวผู้สูงอายุและการรับรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น         
   2.2ด้านการเรียนรู้พบว่าการเรียนรู้จะลดลงมากโดยเฉพาะหลังอายุ70 ปีแม้การเรียนรู้จะลดลงแต่ก็ยังสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ถ้าการเรียนรู้นั้นสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของผู้สูงอายุ โดยสิ่งที่ผู้สูงอายุเรียนรู้ได้ดีและเร็วคือการเรียนรู้เฉพาะอย่างโดยไม่ไปเร่งรัด    
   2.3ด้านความจำ มักพบว่าผู้สูงอายุจะจำ เรื่องราวในอดีตได้ดีแต่จะมีความจำ เกี่ยวกับสิ่งใหม่ๆลดลงการกระตุ้นความจำจึงต้องอาศัยการปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอน หรือการจดบันทึกช่วยจำ

4. หงุดหงิดง่าย ดูไม่มีความสุข หรือเบื่อหน่ายกับชีวิต
   2.4ด้านสติปัญญาโดยปกติความสามารถทางสมองจะเริ่มลดลงเมื่ออายุ30 ปีเป็นต้นไป ในผู้สูงอายุจะเกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาสภาวะสุขภาพประสบการณ์การเรียนรู้และการแก้ปัญหาในอดีต โดยทั่วไปการเสื่อมทางสติปัญญาจะค่อยเป็นค่อยไปไม่เท่ากันทุกคน คุณลักษณะการเสื่อมทางปัญญาที่พบในผู้สูงอายุได้แก่ ความสามารถในการใช้เหตุผล ความสามารถในการคำ นวณบวกลบตัวเลข ความสามารถในการคิดเรื่องนามธรรม         
   2.5 ด้านการรับรู้ข้อมูลและการนำความรู้สู่การปฏิบัติโดยปกติเนื่องมาจากการเสื่อมของร่างกาย เช่นสมองทำ งานลดลง ความจำสั้นลง   
   2.6  ด้านเจตคติความสนใจและคุณค่าซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลซึ่งมีอิทธิพลมาจากเพศสังคมอาชีพ เชื้อชาติและวัฒนธรรมดังนั้นการสอนเพื่อให้ผู้สูงอายุรับรู้เรื่องราวใหม่ๆจะช่วยให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนเจตคติได้
   2.7 ด้านการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองโดยส่วนใหญ่มักรับรู้ว่าตนเองอยู่ในวัยพึ่งพิงเพราะความเสื่อม ทำ ให้ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองลดลง      
การสังเกตปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ    
1.สังเกตอาการง่ายๆ จากการดำ เนินชีวิตประจำ วันได้แก่ การกินผิดปกติอาจจะกินมากขึ้นกว่าเดิมยิ่งไม่สบายใจก็ยิ่งกินมาก หรือบางคนก็ตรงข้ามคือกินน้อยลง เบื่ออาหาร ซูบผอมลงทั้งๆ ที่ไม่มีปัญหาทางร่างกาย บางคนมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ       
2.การนอน อาจจะมีการนอนหลับมากกว่าปกติเช่น มีอาการง่วง เหงาซึมเซื่องอยากนอนตลอดเวลา หรือบางคนก็ตรงข้ามคือ นอนไม่หลับ ตกใจตื่นตอนดึกแล้วไม่สามารถหลับต่อได้อีก บางคนอาจมีอาการฝันร้ายติดต่อกันบ่อยๆ
3. อารมณ์ผิดปกติหงุดหงิดบ่อยขึ้น เศร้าซึมเคร่งเครียดฉุนเฉียววิตกกังวลมากขึ้นกว่าเดิมจนสังเกตเห็นได้และสร้างความลำ บากใจให้กับคนรอบข้าง       
4.พฤติกรรมการแสดงออกที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เคยเป็นคนร่าเริงแจ่มใส ช่างพูด ช่างคุย ก็กลับซึมเศร้า เงียบขรึม ไม่พูดไม่จา บางคนก็หันไปพึ่งยาเสพติด เหล้า บุหรี่ เป็นต้น บางคนอาจเคยพูดน้อยก็กลายเป็นคนพูดมากหรือแสดงความสนใจในเรื่องเพศอย่างผิดปกติ เป็นต้น     
5. มีอาการเจ็บป่วยทางกายซึ่งหาสาเหตุไม่พบ เช่น ปวดเมื่อยตามตัวปวดศรีษะ ปวดกระดูก วิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง เป็นต้น         
ปัญหาสุขภาพจิตที่พบในผู้สูงอายุ
     มักพบเสมอว่าปัญหาที่รบกวนจิตใจผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเป็นเรื่องสัมพันธภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะคนในครอบครัวและสิ่งที่ผู้สูงอายุไวต่อความรู้สึกมากที่สุดคือการเสียหน้า การเสียคุณค่าและการเสียความเคารพจากผู้อื่น ส่วนปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือ เรื่อง ความเครียดวิตกกังวลเหงา/ว้าเหว่จู้จี้ขี้บ่น กลัวการถูกทอดทิ้งรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า นอนไม่หลับ         

1.ความเครียด  
เป็นสภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆในสิ่งแวดล้อมที่บีบคั้น กดดัน คุกคามให้เกิดความทุกข์ความไม่สบายใจ หรือความไม่พอใจ 
อาการที่แสดงว่าผู้สูงอายุเกิดความเครียด   
1. อารมณ์ตึงเครียด ยิ้มไม่ออก สนุกไม่ออก หัวใจเต้นแรง
    
2. ผิวหนังเย็นหรือแห้ง บางครั้งชาตามปลายมือปลายเท้า
    
3. มึนทั้งหัว หรือปวดท้ายทอย
             
5. คิดเรื่องต่างๆไม่ค่อยออก
        

6. ไม่อยากพูดคุยกับใคร   

7. ขาดความกระตือรือร้น ไม่ค่อยมีพลังหรือแรงกระตุ้นในการทำ งาน
8. เวลาเหลือจนไม่รู้ว่าจะทำอะไร 
9. นอนหลับยากขึ้น หรือไม่หลับเลย       


แนวทางการช่วยเหลือ   
1.หลังจากสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ หรือผู้สูงอายุมาขอรับคำแนะนำ เรื่องเครียดวิตกกังวล นอกจากการกล่าวทักทายโดยทั่วไป แล้วอาจเพิ่มความไว้วางใจจากผู้สูงอายุด้วยวิธีการสร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงอายุวิธีง่ายๆและให้ผลดีคือการถามสารทุกข์สุขดิบ จากนั้นให้บุคลากรสาธารณสุขใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อสำรวจปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นด้วยการถามคำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้สำรวจและบอกเล่าความคิดความรู้สึกของตนเอง เช่นการใช้คำถาม อะไรหรือ อย่างไรเช่น คุณป้าพอจะเล่ารายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นให้ดิฉันฟังได้ไหมคะ” “อาการที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรอีกคะเป็นต้น  
2. ใช้ทักษะในการสื่อสาร เช่นการทวนซํ้า หรือการสะท้อนอารมณ์เพื่อยืนยันความรู้สึกที่เกิดขึ้นของผู้สูงอายุ และทำ ให้ผู้สูงอายุมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองชัดขึ้น     

2. ความวิตกกังวล (พบในทุกกลุ่ม)        
     มีความวิตกกังวลที่ต้องพึ่งพาลูกหลาน มักแสดงออกเด่นชัดเป็นความกลัวขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เช่น กลัวไม่มีคนเคารพยกย่องนับถือกลัวว่าตนเองไร้ค่ากลัวถูกทอดทิ้งกลัวเป็นคน งกๆเงิ่นๆกลัวถูกทำ ร้ายกลัวนอนไม่หลับ กลัวตายความวิตกกังวลแสดงออกทางด้านร่างกายเช่น เป็นลมแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อาหารไม่ย่อย ไม่มีแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ กระสับ กระส่าย    

แนวทางการช่วยเหลือ   
    จะมีแนวทางการช่วยเหลือเช่นเดียวกับปัญหาความเครียดแต่ความวิตกกังวลในผู้สูงอายุบางอย่างเป็นปัญหาการวิตกกังวลไปเอง เช่นความเป็นห่วงลูกหลาน ความกังวลอันเกิดจากปัญหาของตนเองควรแก้ที่ความคิดด้วยการสอนวิธีปรับมุมมองให้กว้างและอาจดึงลูกหลานเข้ามาสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สูงอายุกล่าวโดยสรุปว่าความวิตกกังวลนั้น ต้องรู้ว่าเรื่องอะไรแก้อย่างไรถ้าวิตกกังวลในเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ก็ให้คนอื่นช่วยแก้หรือให้ทำใจ       

การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ   
ผู้สูงอายุจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ได้แก่การปรับตัวให้เข้ากับสภาพร่างกายที่เสื่อมลงการปรับตัวให้ยอมรับจากการสูญเสียแบบแผนของสังคมที่เปลี่ยนไป การไม่มีงานทำและรายได้ลดลง ซึ่งเป็นต้นเหตุของการไม่มีความสุขในผู้สูงอายุในเชิงจิตวิทยาความสุขเป็นการวัดเชิงอัตวิสัยคือเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกแม้ความสุขแต่ละคนจะแตกต่างกันไป แต่ความสุขเชิงจิตวิทยามักวัดเฉพาะความอยู่ดีทางอารมณ์ซึ่งคำว่าอยู่ดี(
well-being)ก็จะวัดรวมเอามิติสุขภาพกาย สุขภาพใจเข้ามาเป็นบริบทของการอยู่ดีมีสุขเพื่อพัฒนาให้เกิดความสุขเชิงจิตวิทยาในผู้สูงอายุจำ เป็นต้องนิยามความสุขที่พร้อมจะปฏิบัติและสามารถวัดผลลัพธ์ในเชิงสัมพันธ์ได้กรมสุขภาพจิตได้นำ เสนอแนวคิดเรื่องสุข 5 มิติเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีบุคลากรสาธารณสุขสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้กิจกรรมการเสริมสร้างความสุข5มิติโดยมีรายละเอียดดังนี้
1.  สุขสบาย (
Health)   
วิธีส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย    
1. แนะนำ เรื่องการออกกำ ลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่นฝึกกายบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเคลื่อนไหวและควรออกกำลังกายให้ครบทุกสัดส่วน ทุกข้อต่อของร่างกาย ทั้งนี้การออกกำลังกายไม่ควรออกกำลังกายแบบรุนแรงและควรทำ เป็นประจำ ทุกวัน วันละ15-30 นาที       
2. ขณะออกกำลังกายต้องฝึกการควบคุมการหายใจให้เป็นจังหวะตามการออกกำลังกายโดยหายใจให้ลึกและผ่อนลมหายใจออกทางปากไม่กลั้นหายใจขณะออกกำลังกายเพราะจะทำ ให้ความดันโลหิตสูงได้  
3.  หลังการออกกำ ลังกายอย่างเต็มที่ไม่ควรหยุดแบบทันทีควรออกกำลังกายต่อ แต่ให้ช้าลงประมาณ 5 - 10 นาทีแล้วจึงหยุด         
4.  ใช้แรงกายในชีวิตประจำ วัน และทำ งานอดิเรกที่ชอบ เช่นกวาดบ้าน ทำสวน ซ่อมแซมเครื่องใช้ไม้สอย

2. สุขสนุก (Recreation)
วิธีส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย    
1. แนะนำ เรื่องเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ หรือกิจกรรมต่างๆที่สร้างความสดชื่น และมีชีวิตชีวาอย่างสร้างสรรค์และดีงาม
2. แนะนำ เรื่องการเล่นกีฬา ดนตรีศิลปะหรืองานอดิเรกที่ชอบเช่น เปตอง รำ ไม้พลอง เต้นแอโรบิค เต้นฮูลาฮูป รำวงพื้นบ้าน หรือเล่นดนตรีพื้นบ้าน เป็นต้น    

3. สุขสง่า (Integrity)    
วิธีส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย    
1. แนะนำ ให้ผู้สูงอายุพยายามช่วยเหลือตนเองในเรื่องง่ายๆ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับคนอื่น เช่น กิจวัตรประจำวัน งานบ้านเล็กๆน้อยๆ การดูแลเด็กเป็นต้น   
2.  แนะนำ ให้ผู้สูงอายุรู้จักฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีเพื่อสร้างปฎิสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น ด้วยการไม่แทรกหรือขัดจังหวะขณะที่ผู้อื่นพูดยกเว้นกรณีที่สงสัยสิ่งที่ผู้พูดกำลังพูด ต้องฟังอย่างตั้งใจเพื่อจะได้เก็บเรื่องราว ความคิด อารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดขณะพูดเพื่อเป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาในเรื่องที่ตนเองถนัดหรือมีประสบการณ์    
3.  ฝึกวิธีการตั้งคำถามเพื่อจะได้ใช้เป็นหัวข้อในการพูดคุยสนทนากับผู้อื่น อาจเริ่มต้นด้วยการชวนพูดคุยเรื่องที่ลูกหลานกำ ลังทำ อยู่ เรื่องเทคโนโลยีเรื่องข่าวสารที่กำลังเป็นประเด็น เพื่อจะได้ทันเหตุการณ์และโลกในปัจจุบันได้ 
4. แนะนำ เรื่องการเป็นคนไม่จู้จี้ขี้บ่นและระวังการใช้คำ พุดที่รุนแรงที่อาจทำ ให้การสนทนาไม่สร้างสรรค์(กล่าวแล้วในบทที่ 1)         
5. แนะนำ ให้ผู้สูงอายุหากิจกรรมที่ทำ ให้เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่นอยู่กับความคิดเดิมๆอาจเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือกิจกรรมแปลกใหม่เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งใหม่   

4. สุขสว่าง (Cognition) 
วิธีส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย    
1. แนะนำผู้สูงอายุเรื่องการฝึกการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยรู้มาก่อน เช่น ทำกิจกรรมด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่เคยทำ     
2. แนะนำผู้สูงอายุเรื่องการรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ หรือกลุ่มวัยอื่นๆเพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งจะช่วยให้เกิดความคิดวิเคราะห์ความคิดเรื่องการวางแผน และความคิดเรื่องการบริหารจัดการได้ดี    
3. แนะนำผู้สูงอายุในการฝึกกิจกรรมที่จะช่วยประสานสหสัมพันธ์ระหว่างมือตาและเท้าเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเกิดความคล่องแคล่วและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ด้วยการฝึกหยิบจับวัตถุชิ้นเล็กๆ เช่น ร้อยลูกปัด นั่งปั้นกระดาษหนังสือพิมพ์1 คู่ด้วยเท้าขณะดูทีวีให้กลมที่สุด เป็นต้น      
4. แนะนำผู้สูงอายุเรื่องการเล่นเกมส์ที่สามารถฝึกฝนด้านความจำ หรือฝึกสมองได้แต่ควรเป็นเกมส์ที่ทำ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันในกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา เกิดการคิดเชิงบริหารจัดการ เกิดการจัดลำดับความคิดอันเป็นการชะลอความเสื่อมของสมอง เป็นต้น เช่น หมากรุกอักษรไขว้ต่อคำ ต่อเพลงคิดเลข หรือการจดจำข้อมูลต่างๆเช่น วัน เวลาสถานที่ บุคคล หมายเลขโทรศัพท์เป็นต้น

5. สุขสงบ (Peacefulness)       
วิธีส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย    
1.  แนะนำวิธีการผ่อนคลายต่างๆเช่น การนั่งในท่าสบายฝึกหายใจช้าๆลึกๆ ใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณท้องช่วย โดยหายใจเข้า ท้องป่องกลั้นหายใจไว้นับเลข 1 - 4 และหายใจออกช้าๆนับ1-8 ให้ท้องแฟบ ทำซํ้าๆเมื่อรู้สึกเครียด หงุดหงิด โกรธ หรือไม่สบายใจ      
2.  แนะนำ เรื่องการฝึกคิดยืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเข้มงวดจับผิดหรือตัดสินผิดถูกตนเอง และผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา ลดทิฐิมานะรู้จักให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคือง และปล่อยวาง ชีวิตจะได้มีความสุขมากขึ้น      
3. แนะนำ เรื่องการฝึกคิดแต่เรื่องดีๆเช่น คิดถึงประสบการณ์ที่ดีคิดถึงความสำ เร็จในชีวิตที่ผ่านมาคำชมเชยที่ได้รับ ความมีนํ้าใจของเพื่อนบ้าน เป็นต้น   

การเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ     
ภาวะ หมายถึง   มาจากคำบาลีและสันสกฤตว่า
ภาวในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า ความมี ความเป็น ความปรากฏ        
ซึมเศร้า หมายถึง เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้า เป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง ในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน  
ผู้สูงอายุ หมายถึง องค์การสหประชาชาติ ได้ให้นิยามว่า "ผู้สูงอายุ" คือ ประชากรทั้งเพศชาย และเพศหญิงซึ่งมีอายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป (60+) โดยเป็นการนิยาม นับตั้ง แต่อายุเกิด ส่วนองค์การอนามัยโลก ยังไม่มีการให้นิยามผู้สูงอายุ โดยมีเหตุผลว่า ประเทศต่างๆทั่วโลกมีการนิยาม ผู้สูงอายุต่างกัน ทั้งนิยามตามอายุเกิด ตามสังคม (
Social) วัฒนธรรม (Culture) และสภาพร่างกาย (Functional markers) เช่น ในประเทศที่เจริญแล้ว มักจัดผู้สูงอายุ นับจากอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือบางประเทศ อาจนิยามผู้สูงอายุ ตามอายุกำหนดให้เกษียณงาน (อายุ 50 หรือ 60 หรือ 65 ปี) หรือนิยามตามสภาพของร่างกาย โดยผู้หญิงสูงอายุอยู่ในช่วง 45-55 ปี ส่วนชายสูง อายุ อยู่ในช่วง 55-75 ปี    
    สำหรับประเทศไทย "ผู้สูงอายุ" ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 หมายความว่า บุคคลซึ่ง มีอายุเกินกว่า 60 ปี ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย         
    ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นการเจ็บป่วยทางจิตชนิดหนึ่งที่ตอบสนองต่อความผิดหวัง ความสูญเสีย หรือการถวิลหาสิ่งที่ขาดหายไป เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำ ให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่มีความสุข จิตใจหม่นหมอง หดหู่ หมดความกระตือรือร้นเบื่อหน่ายสิ่งต่างๆ รอบตัว แยกตัวเอง ชอบอยู่เงียบๆ คนเดียว ท้อแท้บางครั้งมีความรู้สึกสิ้นหวัง มองชีวิตไม่มีคุณค่า มองตนเองไร้ค่า เป็นภาระต่อคนอื่น ถ้ามีอาการรุนแรงจะมีอันตรายจากการทำ ร้ายตนเองได้มีรายงานการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุพบว่าร้อยละ 90 มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างไรก็ตาม มีบางรายที่แสดงออกด้วยการหงุดหงิดโมโหง่าย ทะเลาะกับบุตรหลานบ่อยครั้ง น้อยใจง่ายมักมาพบแพทย์ด้วยอาการใจสั่น ปวดหัว ปวดหลังปวดท้องอ่อนเพลียไม่มีแรง นอนไม่หลับ ท้องอืด ท้องเฟ้อเมื่อแพทย์ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ ที่รุนแรง ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน ทั้งสาเหตุทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม        
แนวทางการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า 
การคัดกรองผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงจัดเป็นการเฝ้าระวังโรคได้การคัดกรองมี2 ระดับ
1. คัดกรองในผู้สูงอายุทั่วไป
2. คัดกรองในกลุ่มเสี่ยงหรือมีแนวโน้มการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าผู้สูงอายุกลุ่มทั่วไป เช่น ผู้ที่มาด้วยอาการซึมเศร้าชัดเจน
-ผู้ที่มาด้วยอาการซึมเศร้าชัดเจน  
-ผู้ป่วยที่มีอาการทางกายเรื้อรังหลายอาการที่หาสาเหตุไม่ได้ 
-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ข้อเสื่อมไตวายมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
-ผู้ที่มีปัญหาสุรายาเสพติด
-ผู้ที่ประสบกับการสูญเสียที่รุนแรงมาไม่นาน         

แนวทางการคัดกรองโรคซึมเศร้า 
การค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน       
ขั้นตอนที่ 1 การคัดกรองโรคซึมเศร้า       
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินโรคซึมเศร้า        
ขั้นตอนที่ 1 การคัดกรองโรคซึมเศร้า
การคัดกรองหาผู้ที่มีแนวโน้มที่จะป่วยโรคซึมเศร้ามี2 ระดับได้แก่      
1. การคัดกรองในผู้สูงอายุทั่วไป   
2. การคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังมีอาการซึมเศร้าชัดเจน ผ่านการสูญเสียที่รุนแรงมาไม่นาน หรือมีปัญหาสุรายาเสพติดวิธีการคัดกรองโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุทั่วไป
เครื่องมือ         แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)
วัตถุประสงค์     ใช้ค้นหาผู้ที่มีแนวโน้มหรือเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
กลุ่มเป้าหมาย    ผู้สูงอายุในชุมชนหรือกลุ่มเสี่ยง
ผู้ใช้       อาสาสมัครสาธารณสุข หรือบุคลากรใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล / โรงพยาบาลชุมชน

ขั้นตอนที่ 2 การประเมินโรคซึมเศร้า        
แนวทางการประเมินโรคซึมเศร้า   
เครื่องมือ         แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9
Q)
วัตถุประสงค์     ช่วยการวินิจฉัยและใช้ประเมินจำแนกความรุนแรง
กลุ่มเป้าหมาย    ผู้สูงอายุในชุมชนและกลุ่มเสี่ยงที่มีผลบวกจากการคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)
ผู้ใช้                พยาบาล / แพทย์




แนวทางการดูแลช่วยเหลือ          
1.  เมื่อแจ้งผลการประเมินโรคซึมเศร้าและสุขภาพจิตศึกษาโดยการสอบความถูกต้องและเพียงพอในความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหรือไม่ถูกต้องอาจมอบเอกสารหรือแนะนำ เทคโนโลยีสำ หรับส่งเสริมสุขภาพจิต     
2.  ประเมินว่ามีปัญหาด้านสังคมจิตใจหรือไม่ ถ้ามีควรให้การปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว     
3. แนะนำ เทคโนโลยีหรือสื่อสุขภาพจิตเรื่องโรคซึมเศร้าเช่นแผ่นพับหนังสือ ฯลฯ        
4. แนะนำ ให้ออกกำลังกาย 30 - 45 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
5. แนะนำ ให้สำ รวจ / ประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 2Q ด้วยตนเอง เมื่อพบว่ามีผลบวกให้มาพบบุคลากรสาธารณสุขเพื่อประเมินโรคซึมเศร้าอีกครั้ง   


ที่มา....
       กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 2558.การดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต. สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำ เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี11000โทรศัพท์0 2590 8069 โทรสาร 0 2590 8078.ค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2561   
http://www.siamsporttalk.com/th/entertainment/health-articles/470-health.html  
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95         
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06062014-0956        
http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0-%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0-%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0  
http://haamor.com/th/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8/


กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ        การทำกิจกรรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกเพศทุกวัย กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นกิจ...